Menuscript Preparation

คำแนะนำในการส่งรายงานวิจัยหรือบทความวิชาการ
เพื่อตีพิมพ์วารสารสมาคมนักวิจัย

LINK : สำหรับส่งบทความงานวิจัย 

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/user/register

เพื่อให้การตีพิมพ์รายงานวิจัย หรือบทความวิชาการในวารสารสมาคมนักวิจัยเป็นไปโดยเรียบร้อย เป็นวารสารที่ได้มาตรฐานสากลบังเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งผู้ส่งรายงานการวิจัย หรือบทความวิชาการผู้ใช้ประโยชน์ จากผลงานการวิจัย หรือบทความวิชาการเหล่านั้น รวมทั้งสมาคมนักวิจัยในการจัดทำวารสาร สมาคมนักวิจัยได้กำหนดหลักเกณฑ์ตลอดจนคำแนะนำในการส่งรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารไว้ ดังนี้

หลักเกณฑ์โดยทั่วไป
1.  เป็นรายงานงานวิจัย หรือบทความวิชาการในด้านสังคมศาสตร์
2.  เป็นรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
3.  ผู้ส่งรายงานวิจัย หรือบทความวิชาการมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

      จ่ายเมื่อส่งรายงานวิจัยเพื่อพิจารณาเบื้องต้น ก่อนส่งไปให้ผู้ทรง 3,000 บาท
      เลขที่บัญชี 069-2-555188 ธนาคารทหารไทย สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      และแจ้งสลิปการโอนเงิน ชื่อบทความ ทาง E-mail: artj@ar.or.th

      ผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ  4,000  บาท
            - จ่ายเมื่อส่งรายงานวิจัยผ่านพิจารณาเพื่อส่งให้ผู้ทรงประเมิน 3,000 บาท
            - จ่ายเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนำลงตีพิมพ์  1,000  บาท
          

      ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ  4,500  บาท
            จ่ายเมื่อส่งรายงานวิจัยผ่านพิจารณาเพื่อส่งไปให้ผู้ทรงประเมิน 3,000 บาท
            - จ่ายเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนำลงตีพิมพ์  1,500  บาท

4. รายงานการวิจัย หรือบทความที่ส่งมาจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมนักวิจัย  ต่อเมื่อได้ผ่านกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สมาคมนักวิจัยแต่งตั้งขึ้น

หมายเหตุ:    ให้ผู้เขียนส่งบทความมายังสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย โดยชำระเงินสำหรับการพิจารณาเบื้องต้นโดยคณะกองบรรณาธิการ ว่าบทความตรงกับสาขาของวารสารหรือไม่ โดยส่งบทความในระบบการรับบทความในเว็ปไซด์ของสมาคมฯ

คำแนะนำการเขียน และส่งต้นฉบับ

บทความวิจัย

ส่วนนำ ประกอบด้วย

ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเป็นชื่อที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง

ชื่อผู้เขียนทุกท่าน (Authors) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ที่อยู่ สำหรับการติดต่อ E-mail และโทรศัพท์ 

ตัวเลขยก ให้เขียนไว้บนนามสกุลเพื่อระบุว่าเป็นที่อยู่ของผู้เขียนท่านใด

บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา โดยจัดทำเป็นร้อยแก้ว สรุปสาระสำคัญไว้อย่างครบถ้วนไม่แบ่งเป็นข้อ

คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล ประมาณ 3-5 คำ สำหรับภาษไทยให้เว้นวรรคระหว่างคำสำคัญ ภาษาอังกฤษให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)

ส่วนเนื้อหาความสำคัญของปัญหาของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การทบทวนวรรณกรรม และแนวคิด

ขอบเขตของการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุวิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปี พ.ศ. ที่ทำการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล) 

ผลการวิจัย ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น โดยอาจมีรูปภาพ ตารางและแผนภูมิประกอบเท่าที่จำเป็น สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณต้องมีตารางสถิติพื้นฐานบังคับที่ต้องนำเสนอตามประเภทของสถิติที่ใช้เช่นตารางแสดงลักษณะประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง ตารางที่นำเสนอตีเส้นในแนวนอนที่หัวตารางและเส้นปิดตาราง ไม่ใช้เส้นตั้งภาพและแผนภูมิประกอบต้องมีความคมชัด และตัวหนังสืออยู่ในกรอบไม่ล้นออกมา และไม่มีกรอบล้อมภาพหรือแผนภูมิ

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะสำหรับปฏิบัติ และข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยต่อไป)

เอกสารอ้างอิง ต้องอ้างอิงในระบบ APA ให้ระบุเอกสารอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่ใช้อ้างในเนื้อหาเท่านั้น

 บทความที่สรุปมาจากวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมตำแหน่งวิชาการ และสังกัดหลังชื่อผู้นิพนธ์

รูปแบบการพิมพ์บทความ
ต้นฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร Angsana New ขนาด 16 ตลอดทั้งบทความ พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบทุกด้าน 2.54 ซม. และใส่เลขกำกับทุกหน้าที่มุมขวาบนของกระดาษทุกหน้า ความยาวต้นฉบับ ไม่ต่ำกว่า 12 หน้า และไม่เกิน 16 หน้า

ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 (ตัวหนา) จัดชิดขวาหน้ากระดาษ

ชื่อบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 (ตัวหนา) จัดชิดซ้ายหน้ากระดาษ

ชื่อคำสำคัญ (Keyword) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16(ตัวหนา) จัดชิดซ้ายหน้ากระดาษ

คำสำคัญ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16(ตัวหนา)  (ไม่ควรเกิน 4 คำ) 

การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้ระบบนามปี

หลักเกณฑ์การประเมินบทความเพื่อตอบรับตีพิมพ์
กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นถึงความสอดคล้องกับแนวทางตีพิมพ์ผลงานของวารสารหรือไม่ แล้วจะมีหนังสือแจ้งกลับการพิจารณา 

ถ้าบทความมีเนื้อหามีความสอดคล้องกับวารสาร กองบรรณาธิการจะพิจารณาความถูกต้องของรูปแบบการเตรียมข้อมูลต้นฉบับผู้นิพนธ์จะต้องแก้ไขให้ตรงตามรูปแบบที่กำหนด

ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความ เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์ และวารสารสมาคมนักวิจัยฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์จำนวน 1 ฉบับ

                                ในการนี้ วารสารสมาคมนักวิจัยได้เตรียมการที่จะเข้าสู่ ACI ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
                                1. Titles ชื่อเรื่อง
                                2. Abstracts บทคัดย่อ
                                3. Author Name and Affliations ชื่อผู้แต่งและสังกัด
                                4. Cited References เอกสารอ้างอิง

                                สำหรับ Cited References ให้ท่านแยกเอกสารภาษาไทยอยู่ในหัวข้อ เอกสารอ้าง และเอกสารภาษาอังกฤษ อยู่ในหัวข้อ References และให้แปลเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยใส่วงเล็บว่า (in thai) และเรียงตามลำดับอักษรอีกครั้ง

ตัวอย่างการอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน. 2551. เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
    กรุงทพฯ
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. 2553.
 การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
    อย่างยั่งยืน
. นนทบุรีธิงค์บียอนด์
.
Carroll, Archie B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral 
    Management of Organizational Stakeholders.
 Business Horizons. July-August, pp.39-48.
Carroll, Archie B. and Ann K. Buchholtz, (2006), Business and Society (6thed.). USA: Thomson 
    South-Western.
Leech, N. L., Barrett, K. C., & Morgan, G. A. (2005). SPSS for Intermediate Statistics: Use and 
    Interpretation
 (2nded.).Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

TRANSLATED THAI REFERENCES
Nonthanathorn, Phiphat.  (2010). Corporate Social Responsibility Management: Creating 
    Sustainable Competitive Advantage
. Nonthaburi: Thinkbeyond. (in Thai).
Working Committee of Social and Environment Promotion of Listed Company. (2008). Business 
    Compass for Society. 
Bangkok: CSRi. (in Thai).

download : แบบการตรวจรูปแบบบทความด้วยตนเอง (ตรวจบทความให้ถูกต้องตามแบบการตรวจด้วย)