การเสวนา หัวข้อ “ วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ ” โดย สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)

Lastest Modified Tuesday 23 August 2016 , 10:44

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2559  สมาคมนักวิจัย จัดงานครบรอบ 33 ปีสมาคมนักวิจัย 
                              ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งช่าติ2559(Thailand Research Expo 2016)
            สมาคมนักวิจัย จัดงานครบรอบ 33 ปี เสวนา วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) ณ ห้องโลตัส 1-2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยพลอากาศเอกประจิน  จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเสวนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ” ณ ห้องเวิลด์บอลรูมชั้น 23 และเดินเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำมาจัดแสดง ณ ห้องบางกอกค นเวนชันเซนเตอร์ ชั้น 22 โดยมีผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นายกสมาคมนักวิจัยและคณะกรรมการบริหารสมาคมนักวิจัยให้การต้อนรับ
         
           ผศ.ดร.ศักดา  ศิริภัทรโสภณ นายกสมาคมนักวิจัย กล่าวว่า สมาคมนักวิจัย ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยศาสตราจารย์ดร.จุมพล สวัสดิยากรเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในขณะนั้นจนครบ 33 ปี ในปีนี้ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้เป็นสมาคมแห่งการพัฒนานักวิจัยมืออาชีพชั้นนำในระดับภูมิภาค ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3,000 คน ทั่วประเทศ สมาคมได้จัดงาน 33 ปีสมาคมนักวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo2016) โดยจัดนิทรรศการเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆที่คูหานิทรรศการ และจัดการเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิจัยก้าวไกลสู่นวัตกรรมพัฒนาชาติ มีการเสวนาใน 3 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ นวัตกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร, ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้วยไอเดียสร้างสรรค์ และ หัวข้อ บันไดสู่การพัฒนาธุรกิจแนวใหม่ โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากภาครัฐและภาคเอกชน อธิเช่น ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์พงศ์พิชญามาตย์ กรรมการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท)นายจุมพล เที่ยงธรรม ประธานศูนย์BTACC และผู้บริหารจากภาคเอกชนและตัวแทนบริษัทที่บริหารงานธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ เช่น บริษัท อาทิตย์เวนติเลเตอร์ จำกัด บริษัทเทวาโสภา จำกัด บริษัท สตาร์ สามเณร จำกัด มูลนิธิอาจารย์จำเนียร นายธนาคาร  และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเสริมความงาม Jeunesse เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิจัย นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน

Picture

01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01
01